การทำexcel

ที่มา:http://www.thaivba.net/vb6/main.php

หน้าจอของ MS Excel

เมื่อเปิดโปรแกรม MS Excel ครั้งแรก จะมีกรอบหน้าต่าง สำหรับอำนวยความสะดวก เช่น ให้เปิดไฟล์ใหม่ หรือกำหนดค่าต่าง ๆ ทำให้หน้าจอของ Excel ถูกกินพื้นที่ไป ในขั้นแรกนี้ ให้ท่านคลิกที่ปุ่ม X เพื่อปิดหน้าต่างนี้ ดังรูป (ในวงรีสีแดง)

แต่ละส่วนของหน้าจอมีรายละเอียด ดังนี้

Title Bar

ส่วนนี้อยู่บนสุดของหน้าจอ จะบอกชื่อไฟล์ที่กำลังทำงาน ถ้ายังไม่ได้บันทึกไฟล์ Excel จะตั้งขื่อให้เป็น Book และตามด้วยตัวเลข เช่น Book1.xls, Book2.xls เป็นต้น แต่ถ้ามีการบันทึกไฟล์แล้ว Excel จะใช้ชื่อที่บันทึก

Menu Bar

เมนูบาร์ อยู่ถัดลงมาจาก Title Bar เราใช้เมนูบาร์เพื่อบอกให้ Excel ทำงานตามที่เราต้องการ เช่น การบันทึกไฟล์ การจัดการเกี่ยวกับข้อความต่าง ๆ การจัดรูปแบบ Cell เป็นต้น ในแต่ละหัวข้อ เช่น File, Edit, View, … เมื่อนำเมาส์ไปคลิกจะเกิดเมนูย่อย ซึ่งเราสามารถเลือกได้ โดยใช้เมาส์คลิก หรือ ใช้ปุ่มลูกศรขึ้นลง บนแป้นพิมพ์ เลื่อนแถบไปที่เมนูที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Enter เมนูที่มีเครื่องหมาย แสดงว่า มีเมนูย่อยต่อไปอีก เมนูที่มีลักษณะสีจาง ๆ แสดงว่า ในสภาพนี้ ยังไม่สามารถใช้เมนูนี้ได้

เราสามารถกำหนดให้ Excel แสดงเมนูแบบเต็มทุกเมนู หรือแสดงเฉพาะเมนูที่ใช้บ่อย ๆ ก็ได้ การตั้งให้แสดงเมนูทุกเมนู ทำดังนี้

ใช้เมาส์ชี้ที่ Tools
คลิกเมาส์ 1 ครั้ง
กดปุ่มลูกศรชี้ลง บนแป้นพิมพ์ เพื่อเลื่อนแถบสว่าง มาที่ Customize
กดปุ่ม Enter บนแป้นพิมพ์
ใช้เมาส์คลิกที่แถบ Options
จะเห็น Always show full menus ให้คลิกในกล่องสี่เหลี่ยมที่อยู่หน้าข้อความนี้
คลิกปุ่ม ปิด ( ) เพื่อปิดเมนู
Toolbars

Standard Toolbars(เครื่องมือมาตรฐาน)

Formatting Toolbars (เครื่องมือสำหรับจัดรูปแบบ)

กลุ่มเครื่องมือเหล่านี้ เป็นเครื่องมือที่ใช้บ่อย ๆ เราสามารถจะให้แสดงที่หน้าจอหรือไม่แสดงก็ได้ นอกจากนี้ เรายังสามารถเปลี่ยนเครื่องมือแต่ละตัวได้ ถ้าหน้าจอของท่านไม่มีเครื่องมือเหล่านี้ สามารถนำมาแสดงได้ ดังนี้

ไปที่ View แล้วคลิกเมาส์ปุ่มซ้าย 1 ครั้ง
กดปุ่มลูกศรชี้ลง เพื่อเลื่อนแถบสว่าง จนกระทั่งถึง Toolbars
กดปุ่มลูกศรขี้ไปทางขวา จะเห็น ทั้ง Standard Toolbars และ Formatting Toolbars
คลิกให้เกิดลูกศร ที่หน้า Toolbars ทั้งสอง เพื่อให้แสดงที่หน้าจอ ถ้ามีลูกศรอยู่แล้ว แสดงว่า แถบเมนูทั้งสองแสดงอยู่แล้วที่หน้าจอ ถ้าไม่ต้องการแสดง ก็คลิกลูกศรออก
สัญญลักษณ์บน Toolbars ที่ควรรู้จัก

เปิด ไฟล์ใหม่ หรือเปิด Workbook ใหม่
เปิดงานที่มีอยู่แล้ว โปรแกรมจะถามหาชื่อไฟล์ และที่อยู่
บันทึก หรือจัดเก็บไฟล์ ถ้าเป็นการบันทึกครั้งแรก โปรแกรมจะถามชื่อและที่อยู่ แต่ถ้าเคยบันทึกแล้ว โปรแกรมจะไม่ถามอะไรทั้งสิ้น แต่จะทำการบันทึกทันทีโดยใช้ชื่อเดิม
สำหรับสั่งพิมพ์ เมื่อกดปุ่มนี้ Excel จะพิมพ์ข้อความทันที ถ้าต้องการตั้งค่าต่าง ๆ ให้ใช้ File > Print เพื่อเปิดหน้าจอการพิมพ์
สำหรับคัดลอกข้อความใน Cell เมื่อคลิกปุ่มนี้ Cell ปัจจุบันที่ถูกเลือก จะมีเส้นประวิ่งรอบ ๆ Cell แสดงว่า Cell นี้กำลังถูกคัดลอก ถ้าต้องการเอาเส้นประออก ให้กดปุ่ม Esc เพื่อยกเลิก
สำหรับ นำข้อความที่ถูกคัีดลอก หรือ copy นำมาแสดงใน Cell ใด Cell หนึ่ง เครื่องมือนี้ ทำงานร่วมกับ เครื่องมือคัดลอก () ถ้าไม่มีการคัดลอก เครื่องมือนี้ก็จะใช้ไม่ได้ สามเหลี่ยมเล็ก ๆ ข้าง ๆ มีตัวเลือกให้เลือกว่าจะนำมาแสดงอย่างไร เช่น
Formula นำมาแสดงเฉพาะสูตร
Value นำมาแสดงเฉพาะค่้าตัวเลขหรือตัวอักษร ไม่เอารูปแบบ
No Borders นำมาแสดงแบบไม่มีกรอบ ถ้าของเดิมมีกรอบ
Past Spacial กำหนดเอง เช่น ไม่เอาสีพื้น ฯลฯ จะมีหน้าจอให้เลือก

สำหรับการรวมตัวเลขใน Cell ที่เลือก สามเหลี่ยมข้าง ๆ จะสามารถเลือกฟังก์ชั่นอย่างอื่น ๆ อีกได้ เช่น การหาค่าเฉลี่ย (Average) การนับจำนวน(Count) การหาค่าสูงสุด(Max) การหาค่าต่ำสุด(Min) และฟังก์ชั่นอื่น ๆ
สำหรับการเรียงข้อมูลใน Cell ที่เลือก โดยเรียงจากน้อยไปหามาก
สำหรับการเรียงข้อมูลใน Cell ที่เลือก โดยเรียงจากมาก ไปหาน้อย
สำหรับการสร้างกราฟแบบต่าง ๆ เช่น กราฟแท่ง กราฟวงกลม เป็นต้น

Formula Bar

Formula Bar สามารถเลือกเปิด หรือปิดได้ โดยไปที่ View > Formular Bar ถ้าเปิดอยู่จะเห็นเป็นแถบดังภาพข้างบนนี้ ส่วนที่อยู่ซ้ายสุด คือ ชื่อของ cell และช่องถัดมา เป็นส่วนที่จะใส่ข้อมูลใน cell นี้ หรือใส่สูตรของ Excel ลงใน cell นี้

Status Bar

Status Bar สามารถเลือกเปิด หรือปิดได้ โดยไปที่ View > Status Bar ถ้าข้างหน้าของ Status Bar มีเครื่องหมายถูกอยู่ แสดงว่า Status Bar กำลังเปิดอยู่
Status Bar บอกสถานะของโปรแกรม คำว่า Ready ทางด้านซ้าย บอกว่า ขณะนี้โปรแกรมพร้อมรับคำสั่งจากท่าน ส่วนทางด้านขวามือจะมีข้อมูลหลายอย่าง เช่น

แสดงสถานะของปุ่ม Num Lock ถ้าปุ่มเปิดอยู่ จะเห็นคำว่า NUM ปุ่มนี้ ถ้าไม่เปิด จะไม่สามารถใช้ปุ่มกลุ่มตัวเลขด้านขวามือบนแป้นพิมพ์ได้
แสดงสถานะของปุ่ม Caps Lock ถ้าปุ่มนี้ ถูกเปิดอยู่ จะเห็น CAPS ปรากฎ ปุ่มนี้ใช้สำหรับพิมพ์อักษรแถวบน บนแป้นพิมพ์
แผ่นงาน หรือ Worksheets

โปรแกรม MS Exel ประกอบด้วย แผ่นข้อมูล หรือ Worksheets จำนวนหลายแผ่น ซึ่งสามารถคลิกเลือกได้จากแถบ Sheet1, Sheet2, … ข้างล่าง เราสามารถเพิ่มแผ่นข้อมูลให้มากขึ้นได้ และสามารถเปลี่ยนชื่อแผ่นข้อมูล จากคำว่า Sheet1 เป็นชื่อที่เราต้องการได้
ในแต่ละแผ่นข้อมูล ประกอบไปด้วย คอร์ลัมน์หรือสดมภ์(colomn) และแถว(rows) คอร์ลัมน์จะเริ่มตั้งแต่ A ไปจนกระทั่งถึง IV และแถวจะเริ่มตั้งแต่ 1 จนถึง 65536 ปัญหาอยู่ที่ว่า ในเมื่อแผ่น worksheet กว้างมาก เราจะพิมพ์อย่างไร Excel จะพิมพ์ข้อความทีละหน้า ขนาดความกว้างยาวของหน้าของหน้าตามที่กำหนดใน Page Setup โดยพิมพ์จากบนลงมาล่าง เพื่อให้แน่ใจว่า สิ่งที่พิมพ์จะไม่เกินขอบขวาของกระดาษ เราควรเข้าไปที่ Page Setup เสียก่อน เพื่อให้โปรแกรม ทำเส้นประบอกขอบเขตของกระดาษที่ใช้ปัจจุบัน ซึ่งทำได้ดังนี้

การแสดงเส้นประบอกขอบเขตของกระดาษ

ไปที่ File > Page Setup…
โปรแกรมจะเปิดหน้าจอ ให้ตั้งค่าหน้ากระดาษ

คลิก OK ยอมรับค่าที่โปรแกรมตั้งไว้ให้แล้ว
เมื่อมาดูที่ Worksheet จะเห็นเส้นประ บอกขอบเขตของกระดาษ ถ้าพิมพ์นอกขอบเส้นประ ข้อความนั้นจะไม่ถูกพิมพ์ เมื่อสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์

การปรับความกว้างและความสูงของ cell

ถ้าต้องการขยายความสูงของแต่ละแถว ให้นำเคอร์เซอร์ไปวางไว้ที่เส้นขอบล่้างของแถวที่ต้องการขยาย เมื่อเคอร์เซอร์เปลี่ยนรูปร่างเป็นลูกศร 2 หัว เหมือนในวงกลมสีแดงในภาพ ให้กดเมาส์ค้างไว้ แล้วลากลงมา

ถ้าต้องการขยายความกว้างหรือ ลดความกว้างของคอร์ลัมน์ แต่ละคอร์ลัมน์ ให้นำเคอร์เซอร์ ไปวางไว้ที่เส้นขอบ ของคอร์ลัมน์ที่ต้องการขยาย เมื่อเคอร์เซอร์เปลี่ยนรูปร่างเป็นลูกศร 2 หัว เหมือนในวงกลมสีแดงในภาพ ให้กดเมาส์ค้างไว้ แล้วลากไปทางซ้ายหรือทางขวา ได้ตามต้องการ

ถ้าใน ช่อง Cell มีลักษณะ ##### แสดงว่า ความกว้างของ ช่อง Cell น้อยไป ต้องขายออกจึงจะเห็นข้อมูลได้

ถ้าต้องการขยายหรือหดความกว้างของ คอร์ลัมน์ ให้เท่ากันทุกคอร์ลัมน์ สามารถทำได้ ดังนี้
นำเคอร์เซอร์ไปวางไว้ที่ช่องมุมซ้ายด้านบน เมื่อเคอร์เปลี่ยนเป็นรูปกากบาท ให้คลิก จะเห็นว่า Sheet ทั้ง Sheet ถูกเลือกทั้งหมด

จากนั้นจึงนำเคอร์เซอร์ไปวางไว้ที่เส้นคั่นระหว่างคอร์ลัมน์ เมื่อเคอร์เซอร์เปลี่ยนเป็นรูปลูกศรสองทาง ให้กดเมาส์ค้างไว้แล้วลากไปทางซ้ายหรือขวาตามต้องการ

ความกว้างของทุก Column จะเปลี่ยนไป และเท่ากันทุก Column

การลบคอร์ลัมน์ และแถว

เราสามารถลบ คอร์ลัมน์ทั้งคอร์ลัมน์ หรือ ลบแถวทั้งแถวได้ สมมติว่าต้องการลบ คอร์ลัมน์ C และ D มีวิธีการ ดังนี้

คลิกที่ชื่อ คอร์ลัมน์ C กดเมาส์ค้างไว้ สังเกตเคอร์เซอร์ จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศร ชี้ลง แล้วลากไปที่ คอร์ลัมน์ D
จะเกิดแถบสว่าง ดังภาพ

ไปที่เมนู Edit > Delete
คลิกที่ cell อื่น ไป 1 ครั้ง
การลบแถว ก็ทำในทำนองเดียวกัน เพียงแต่มาเลือกชื่อแถว คือตรงบริเวณ หมายเลขแถวที่ต้องการลบ
เมื่อลบไปแล้ว แต่้เปลี่ยนใจไม่ลบ ไห้ไปที่เมนู Edit > Undo Delete หรือคลิกที่รูป บนแถบเครื่องมือ
การเพิ่มคอร์ลัมน์
บางครั้ง เราอาจต้องการเพิ่ม หรือ แทรก คอร์ลัมน์ ก็สามารถทำได้ โดยข้อมูลจะถูกกันออกไปอีก 1 คอร์ลัมน์ การเพิ่มคอร์ลัมน์ ทำดังนี้

คลิกที่ชื่อของคอร์ลัมน์ จะเกิดแถบสว่างยาวตลอดคอร์ลัมน์

ไปที่เมนู Insert > Columns

คลิก 1 ครั้ง คอร์ลัมน์ใหม่จะแทรกเข้าทางขวาของคอร์ลัมน์ที่ถูกเลือก จากภาพ จะสังเกตเห็นว่า ข้อมูลเดิมถูกย้ายไปอีกคอร์ลัมน์ และชื่อของคอร์ลัมน์ จะยังคงเรียงเหมือนเดิม

คลิกที่ไหนก็ได้ 1 ครั้ง เพื่อลบแถบสว่างออกไป
การเพิ่มแถว หรือ Rows
การเพิ่ม หรือ แทรก Rows มีวิธีการคล้ายกับการเพิ่ม หรือแทรก columns ซึ่งมีวิธีการ ดังนี้

คลิกที่ชื่อของ rows จะเกิดแถบสว่างยาวตลอดแถว

ไปที่เมนู Insert > Rows แล้วคลิก แถว์ใหม่จะแทรกเหนือแถวที่ถูกเลือก ในภาพจะเห็นข้อมูลถูกกันลงมาเป็นอีกแถวหนึ่ง แต่ชื่อของแถว ยังเหมือนเดิม

คลิกที่ไหนก็ได้ 1 ครั้ง เพื่อลบแถบสว่างออกไป
ข้อควรระวัง การแทรกแถว เป็นการแทรกตลอดแนว ถ้าข้อมูลที่มองไม่เห็นในหน้าจอ แต่อยู่แถวที่จะต้องถูกแทรกออกไป อาจจะทำให้เสียรูปแบบ หรือเกิดแถวว่างก่อนหน้าข้อมูลได้ ดังนั้น ก่อนการแทรกแถวต้องตรวจสอบให้ดีว่า การแทรกแถวจะไม่ทำให้ไปกระทบกับข้อมูลอื่น ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ
การแบ่งหน้าจอ

เนื่องจาก Excel เป็น Sheet ใหญ่ บางเราต้องการดูข้อมูลจากหลาย ๆ แห่งพร้อม ๆ กัน หรือ ต้องการดูหัวตารางเพื่อทำให้การกรอกข้อมูลถูกต้อง ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นต้องแบ่งหน้่าจอ Excel ออกเป็นส่วน ๆ ซึ่งสามารถ Scroll ดูได้ทุกส่วน ซึ่งมีวิธีการดังนี้
ที่มุมบนด้านขวาต่อจาก Scroll bar และด้านล่างของหน้าจอ จะมีแถบสำหรับแบ่งหน้าจอ ดังภาพ

เมื่อนำเคอร์เซอร์ ไปวางที่ตรงนี้ เคอร์เซ่อร์จะเปลี่ยนเป็นรูปลูกศรสองทาง ซึ่งแสดงว่า สามารถลากแบ่งได้

ให้กดเมาส์และลากแบ่งหน้าจอได้

การ Freeze Pane

ทางเลือกของการแบ่งหน้าจออีกอย่างหนึ่งคือการทำให้หน้าจอส่วนหนึ่งไม่เคลื่อนไหว ซึ่งต่างจากการแบ่งหน้าจอ ที่หน้าจอทุกส่วนสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยการใช้ Scroll bar แต่การ freeze pane จะทำให้ส่วนที่ถูก freeze ไม่เคลือนที่ มีประโยชน์ในการทำให้ส่วนหัวของตารางคงที่ ในขณะที่ส่วนที่เติมข้อมูลเคลื่อนที่ไปได้เรื่อย ๆ
การ freeze ทำได้ ดังนี้

เลือกแถวที่อยู่ใต้ส่้วนที่ต้องการทำให้คงที่

ไปที่ Window > Freeze Panes

ส่วนบนจะถูกตรึงอยู่กับที่ แต่ส่วนล่างสามารถเลื่อนไปได้ จะเห็นมีเส้นสีดำคั่นระหว่างทั้งสองส่วน

ถ้าต้องการยกเลิก ก็ไปที่ Window > Unfreeze Panes

การเรียกชื่อ ช่อง cell

การเรียกชื่อ cell จะเรียกโดยใช้แถวและคอร์ลัมน์ เช่น จะเรียก cell ที่อยู่มุมบนสุดด้านซ้ายมือ ว่า A1 เพราะ เป็น cell ที่อยู่ใน คอร์ลัมน์ A และอยู่ในแถวที่ 1 ดังภาพ

cell ต่าง ๆ เหล่านี้ มีไว้สำหรับใส่ข้อมูล เพื่อที่โปรแกรม Excel จะสามารถนำไปคำนวน หรือใช้งานได้ การอ้างถึงข้อมูลจึงต้องอ้างโดยเรียกชื่อ cell ว่าข้อมูลอยู่ใน cell ใด

การเคลื่อนไปยังตำแหน่งต่าง ๆ บน Worksheet

เนื่องจากในหน้า 1 หน้า หรือ Worksheet 1 แผ่น ประกอบไปด้วย Cell ต่าง ๆ จำนวนมาก การเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่าง ๆ นอกจากจะใช้ Scroll bar ทางด้านขวามือของจอ และด้านล่าง

หรือ ใช้เมาส์คลิกโดยตรงที่ Cell แล้ว ยังสามารถใช้ปุ่ม Enter กลุ่มของลูกศรบนแป้นพิมพ์ และอื่น ๆ อีก ดังนี้

ใช้ปุ่ม Enter
เมื่อพิมพ์ข้อความใน Cell และกดปุ่ม enter โปรแกรม Excel จะทำการประมวลผล และแสดงค่าผลลัพธ์ต่าง ๆ เสร็จแล้วก็จะออกจากตำแหน่งของ Cell ปัจจุบัน โดยจะเลื่อนลงมาข้างล่าง 1 ตำแหน่ง จะสังเกตว่า กรอบสีดำ้ย้ายลงมาข้างล่าง ดังนี้

ก่อนการกดปุ่ม Enter

หลังการกดปุ่ม Enter

จะเห็นว่า กรอบเลื่อนจากตำแหน่งเดิม คือ B1 มาเป็นตำแหน่งใหม่ คือ B2

ใช้แป้นกลุ่มลูกศร
ใช้สำหรับการเปลี่ยน cell ทีละ cell เช่น

กดปุ่มลูกศรลง เมื่อต้องการเลื่อนตำแหน่งลงมา 1 cell
กดปุ่มลูกศรขึ้น เมื่อต้องการเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปข้างบน 1 cell
กดปุ่มลูกศรชี้ไปทางขวา เมื่อต้องการเลื่อนไปทางขวา 1 cell เป็นต้น
ใช้ปุ่ม Tab
ปุ่มนี้ เมื่อกด จะเลื่อน ไปทางขวามือครั้งละ 1 Cell

ลองทำดู
คลิกที่ cell A1
กดปุ่ม Tab หลาย ๆ ครั้ง
จะเห็นกรอบสี่เหลี่ยมหรือ เคอร์เซอร์ วิ่งไปทางด้านขวามือ
ใช้ปุ่ม Shift + Tab
ถ้ากดปุ่ม Shift ค้างไว้ และกดปุ่ม Tab จะเห็นว่า กรอบสี่เหลี่ยม วิ่งไปทางซ้ายมือ

กดปุ่ม PageUp และ PageDown
ถ้าต้องการเลื่อนตำแหน่งไปข้างล่างทีละหน้า ให้กดปุ่ม PageDown และถ้าต้องการกลับขึ้นข้างบนทีละหน้า ให้กดปุ่ม PageUp

ใช้ปุ่ม End + ปุ่มลูกศร

ถ้ากดปุ่ม End ค้างไว้ และกดปุ่ม ลูกศรไปทางขวา จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งไปยังไปยัง cell ขวาสุดของ Worksheet
ถ้ากดปุ่ม End ค้างไว้ และกดปุ่ม ลูกศรไปทางซ้าย จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งไปยังไปยัง cell ซ้ายสุดของ Workshee
ถ้ากดปุ่ม End ค้างไว้ และกดปุ่ม ลูกศรไปขึ้น จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งไปยังไปยัง cell บนสุดของ Workshee
ถ้ากดปุ่ม End ค้างไว้ และกดปุ่ม ลูกศรไปลง จะเป็นการเลื่อนตำแหน่งไปยังไปยัง cell ล่างสุดของ Workshee
การใช้ Name Box

ช่อง Name Box ที่เห็นในกรอบสีแดงข้างบน เมื่อพิมพ์ชื่อ Cell ที่ต้องการและกดปุ่ม Enter ก็จะไปยังตำแหน่ง cell ที่ต้องการได้ทันที

การใช้ ปุ่ม F5
ปุ่ม F5 อยู่แถวบนสุดของแป้นพิมพ์ เมื่อกดปุ่มนี้ จะให้เติม cell ที่ต้องการไป เช่น K8 เมื่อกดปุ่ม Enter หรือ ปุ่ม OK ก็จะสามารถเลื่อนไปยังตำแหน่งที่ระบุได้ทันที

การทำงานกับ Cell

การเลือก Cell
ถ้าต้องการทำงานที่ cell ใด ต้องเลือก cell นั้นเสียก่อน โดยการไปยังตำแหน่ง cell ที่ต้องการ แต่ถ้าต้องการทำงานกับหลาย cell ต้องมีการเลือก cell หลาย cell ซึ่งทำได้ดังนี้
ถ้าเป็นการเลือก cell ที่ติดกัน ให้เลื่อน เคอร์เซอร์ไปยังตำแหน่ง cell ที่เริ่มต้น และกดเมาส์ค้างไว้ แล้วลาก ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
ถ้าเป็นการเลือก cell ที่ไม่ติดกัน หลังจากเลือก cell ครั้งแรกแล้ว ให้กดปุ่ม Ctrl บนแป้นพิมพ์ ค้างไว้ แล้วไปยังตำแหน่ง cell ที่ต้องการ แล้วลากเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ จะเป็นการเลือกพื้นที่ cell ที่ไม่ติดกัน
จะเห็นเป็นแถบสว่างบริเวณที่ถูกเลือก การยกเลิกแถบสว่าง ทำได้โดยกดปุ่ม Esc บนแป้นพิมพ์ หรือ คลิกเมาส์บน Worksheet ที่ใดก็ได้

การป้อนข้อมูลลง Cell
การป้อนข้อมูลลงใน Cell ทำได้ ดังนี้

นำเคอร์เซอร์ไปที่ cell A1 แล้วคลิก 1 ครั้ง

พิมพ์คำว่า วราวรรณ ในช่อง A1

จะเห็นว่า ข้อความที่พิมพ์จะปรากฎขึ้น 2 แห่ง คือ ในช่อง A1 และใน Formula bar และที่ช่อง formular bar จะเห็นเครื่องหมายผิด และเครื่องหมาย ถูก ปรากฎขึ้นที่ข้างหน้าตัวอักษร Fx เครื่องหมายนี้ จะปรากฎก็ต่อเมื่ออยู่ในสถานะหรือ โหมดการพิมพ์ หรือแก้ไขใน cell เพื่ออำนวยความสะดวกในการแก้ไข เช่น เมื่อต้องการยกเลิก ก็กดเครื่องหมายผิด Excel จะลบข้อความทั้งหมด และออกจากโมดการพิมพ์ แต่ถ้าถูกต้องและต้องการตกลง ก็กดเครื่องหมาย ถูก ได้
ถ้าพิมพ์ผิด และต้องการลบให้ใช้ปุ่ม Backspace บนแป้นพิมพ์ จะลบจากหลังไปหน้า ทีละตัวอักษร
กดปุ่ม Enter จะเห็นข้อความ “วราวรรณ” ปรากฎใน Cell หรือ ช่อง A1 ดังภาพ

การพิมพ์ วันที่
ในการพิมพ์วันที่ ต้องพิมพ์ให้ถูกรูปแบบ จึงจะสามารถนำไปคำนวณค่าได้ในภายหลัง ดังนั้น จึงควรพิมพ์ให้ถูกรูปแบบเสียตั้งแต่ต้น
รูปแบบคือ พิมพ์ วันที่ และคั่นด้วยเครื่องหมาย / ต่อด้วยเดือน คั่นด้วยเครื่องหมาย / และต่อด้วยปี เช่น 20/12/2549

การพิมพ์ข้อมูลเดียวกัน หลาย Cell
การพิมพ์ข้อความเดียวกัน ในหลาย Cell พร้อม ๆ กัน ทำได้โดยการเลือก Cell ที่ต้องการให้ข้อมูลปรากฎ ไม่จำเป็นต้องเป็น Cell ติดต่อกันก็ได้ มีขั้นตอนการทำ ดังนี้

เลือก Cell ตั้งแต่ B1 ถึง D1

กดปุ่ม Ctrl บนแป้นพิมพ์ และเลือก C3 ถึง D3

พิมพ์คำว่า ศนก จะปรากฎในช่อง C3 และใน Formula bar

กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วกดปุ่ม Enter จะได้ข้อความในช่อง ที่กำหนด ดังภาพ

การแก้ไขข้อมูลใน Cell
หลังจากที่พิมพ์ข้อความ หรือป้อนข้อมูลลงใน cell แล้ว หากต้องการแก้ไข ให้ไปที่ cell ที่ต้องการแก้ไข แล้วกดปุ่ม F2

ลองทำดู
ให้คลิกที่ Cell A1 หรือ ช่อง A1 ซึ่งมีชื่อ วราวรรณ ปรากฎอยู่
กดปุ่ม Backspace เพื่อลบ คำว่า “วรรณ” ออก
พิมพ์คำว่า “ภรณ์” แล้วกดปุ่ม Enter
จะเห็นคำว่า วราภรณ์ ปรากฎในช่อง A1 ดังภาพ

การใช้ formula Bar ในการแก้ไขข้อมูล
การแก้ไขข้อมูลอีกวิธีหนึ่งคือการใช้ Formular Bar โดยทำดังนี้

ให้คลิกที่ Cell A1 หรือ ช่อง A1 ซึ่งมีชื่อ วราภรณ์ ปรากฎอยู่
ที่ Formula Bar นำเคอร์เซอร์ไปไว้ที่ท้ายข้อความ ดังภาพ

คลิกเมาส์แล้วกดปุ่ม Backspace ไปเรื่อย ๆ จนลบข้อความออกทั้งหมด
พิมพ์คำว่า “วิทยา” แล้วกดปุ่ม Enter
จะเห็นคำว่า วิทยา ปรากฎในช่อง A1 ดังภาพ

การลบข้อมูลใน Cell

การลบข้อมุลใน cell ถ้าเป็นข้อมูลใน cell ใด cell หนึ่ง ให้เลือกที่ cell นั้น แล้วกดปุ่ม Delete บนแป้นพิมพ์
ถ้าต้องการลบหลาย cell ให้ลากแถบสว่าง ให้ครอบคลุมพื้นที่ cell ที่ต้องการลบข้อมูล แล้วกดปุ่ม Delete บนแป้นพิมพ์
การลบข้อมูล หรือ ล้างรูปแบบใน Cell
การลบข้อมูลโดยการกดปุ่ม Delete เป็นการลบเฉพาะข้อมูล แต่รูปแบบต่าง ๆ เช่น สีพื้น ขนาดตัวอักษร และ อื่น ๆ ยังคงอยู่ โปรแกรม Excel มีวิธีการให้เลือกว่า จะลบสิ่งใดออกบ้าง เช่น จะลบเฉพาะข้อมูล หรือล้างรูปแบบของ cell ด้วย ซึ่งมีวิธีการดังนี้

ให้คลิกที่ Cell ที่ต้องการลบข้อมูล หรือล้างรูปแบบของ Cell
ไปทึ่ Edit > Clear และเลือกคลิกตามต้องการ

All คือ ลบข้อมูลใน Cell พร้อมทั้งล้างรูปแบบทัี้งหมด
Formats ล้างเฉพาะรูปแบบ แต่ข้อมูลยังคงไว้ เช่น เอาสีพื้นออก แต่ข้อมูลยังเหมือนเดิม เป็นต้น
Contents Del ลบเฉพาะข้อมูล แต่รูปแบบของ cell เช่น สีพื้นหลัง ยังเหมือนเดิม
Comments ลบข้อความที่เป็น comments ของ cell นี้ออก
การกรอกข้อมูลเลขลำดับที่อัตโนมัติ
Excel มีลักษณะหลายอย่างที่ช่วยการทำงานให้รวมเร็วและสะดวกขึ้น เช่น การกรอกลำดับที่ หากมีการกรอกลำดับที่เรียงกันลงมา 2 ลำดับที่ Excel จะสามารถสร้างต่อให้เองได้ โดยอัตโนมัติ ลองดูวิธีการต่อไปนี้

ที่ตำแหน่ง A1 พิมพ์ หมายเลข 1 แล้วกด Enter
ที่ตำแหน่ง A1 พิมพ์ หมายเลข 2 แล้วกด Enter จะได้ดังภาพ

คลิกที่ตำแหน่ง A1 กดเมาส์ค้างไว้ แล้วลากลงมาที่ตำแหน่ง A2 แล้วปล่อยเมาส์
จะเกิดเส้นสี่เหลี่ยมล้อมรอบตำแหน่ง A1 และ A2 พร้อมกันนี้ จะเห็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ทางมุมล่างด้านขวามือ

นำเคอร์เซอร์ไปไว้ที่ สี่เหลี่ยมเล็ก ๆ มุมล่างด้านขวา เคอร์เซอร์จะเปลี่ยนเป็นรูปกากบาท ดังภาพ

กดเมาส์ค้างไว้ แล้วลากลงมาตรง ๆ จนถึงตำแหน่ง A6
จะเห็นว่าโปรแกรม Excel สร้างหมายเลขให้โดยอัตโนมัติ

การทำงานของ Excel โปรแกรมจะวิเคราะห์ว่า ส่วนที่เลือกก่อนหน้านี้ มีลักษณะอย่างไร และเมื่อลากขยายออกไปแล้ว ควรจะเป็นอย่างไร
ถ้าเรากรอกเลขอย่างเป็นระบบ โปรแกรม Excel สามารถเติมเลขลำดับถัดไปให้เราได้
ลองทำดู

พิมพ์หมายเลข 1, 3 และ 5 ในช่อง A5, A6 และ A7
ใช้เมาส์ลากคลุม ทั้ง 3 Cell
ที่มุมล่างด้านขวา กดเมาส์ค้างไว้แล้วลากเพื่อให้โปรแกรม Excel เติมข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ
จะเห็นมีเลข 7, 9, 11 … เกิดขึ้น
นอกจากนี้ Excel ยังสามารถเติม วัน เดือน ปี ให้่ได้อีกด้วย เพราะ Excel รู้รูปแบบของวันที่ ได้ดี
รูปแบบ วัน เดือน ปี ขึ้นอยู่กับการตั้งค่า Regional and Language Options ใน Control Panel ถ้าตั้งภาษาไทยเอาไว้ รูปแบบการพิมพ์วันที่ ก็จะเหมือนที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป คือ วัน เดือน ปี พ.ศ. ถ้าเป็น English United States จะมีรูปแบบเป็น เดือน วัน และ ปี ค.ศ.

ลองทำดู

พิมพ์เดือน ม.ค. ในช่อง B1
ที่มุมล่างด้านขวา กดเมาส์ค้างไว้แล้วลากลงมาตรง ๆ จนถึง B4

เมื่อปล่อยเมาส์ โปรแกรม Excel จะเติมเดือนให้โดยอัตโนมัติ

แบบฝึกหัด

ให้พิมพ์ข้อความต่อไปนี้ ลงใน Sheet ของ Excel

A B C D E
1 ชื่อ วิทย์ คณิต อังกฤษ รวม
2 ปราการ 20 30 20 70
3 สมุทร 30 20 15 65
4 นฤมล 30 30 25 85
5 วราวรรณ 25 21 30 76
6 ทองจุล 25 25 25 75
7 ไพโรจน์ 25 25 30 80

การย้ายข้อมูล
ในกรณีที่จะย้ายข้อมูล ให้ลากแถบสว่างให้ครอบคลุมบริเวณที่ต้องการย้ายเสียก่อน จากนั้น จึงใช้เมาส์คลิกที่ขอบ แล้วลากไปยังตำแน่งที่ต้องการ
ตัวอย่าง
ต้องการย้ายข้อมูล B2 ถึง B5 ไปยังตำแหน่ง C2 ถึง C5 ดังนี้

ใช้เมาส์คลิกที่ตำแหน่ง B2 คลิกเมาส์ค้างไว้แล้วลากลงมาที่ตำแหน่ง B5 แล้วปล่อยเมาส์

นำเคอร์เซอร์ไปวางที่เส้นขอบ จะเห็นเคอรเซอร์เปลี่ยนรูปเป็นลูกศร สี่ทิศทาง แสดงว่าเคลื่อนย้ายได้

กดเมาส์ค้างไว้ แล้วลากไปที่ตำแหน่งที่ต้องการย้าย ในที่นี้คือ คอร์ลัมน์ C ขอให้สังเกต กรอบสี่เหลี่ยม ซึ่งจะเป็นบริเวณที่ข้อมูลที่ถูกย้ายจะมาปรากฎ

ปล่อยเมาส์ ข้อมูลจะถูกย้ายตามที่ต้องการ

การคัดลอก cell และ วาง หรือ paste ใน cell

เราสามารถคัดลอก หรือ copy เนื้อหาในช่อง cell ได้หลายวิธี วิธีที่สะดวกคือการใช้ icon บน เมนูบาร์ คือ รูป สำหรับคัดลอก และ รูป สำหรับวาง หรือ paste สิ่งที่คัดลอกไว้ ซึ่งมีวิธีการ ดังนี้

พิมพ์ ตัวเลขในช่อง cell ดังภาพข้างล่างนี้

คลิกเมาส์ที่ ช่อง A1 และลาก เพื่อลากแถบสว่าง ให้ครอบคลุมถึงช่อง C2 ดังภาพ

คลิกรูป บนเมนูบาร์ เพื่อคัดลอก สิ่งที่อยู่ใน cell ที่ลากแถบสว่างไว้
จะเกิดเส้นประล้อมรอบบริเวณที่ได้ทำการคัดลอกแล้ว ดังนี้

ถ้าเปลี่ยนใจ ต้องการเอาเส้นประออก ให้กดปุ่ม Esc บนแป้นพิมพ์ เส้นประจะหายไป
ใช้เมาส์คลิกที่ช่อง D1 แล้ว ลากไปให้ครอบคลุมให้เท่ากับบริเวณที่คัดลอก cell ในที่นี้คือ ต้องลากไปถึงช่อง F2 เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ไปทับข้อมูลเก่าที่มีอยู่เดิม
คลิกรูป บนเมนูบาร์ เพื่อวางข้อมูลที่คัดลอกไว้ จะเกิดดังนี้

กดปุ่ม Esc บน แป้นพิมพ์ เพื่อออกจากโหมด คัดลอก เส้นประจะหายไป

การสร้างบล็อก

ที่มา:http://www.makemoney-school.com/how_blogger_signup.html

การสร้าง Blog !!!
Blog ไทยก็มีเยอะนะครับ แต่ส่วนใหญ่ เค้าไม่ให้มีโฆษณาใน Blog
จึงขอแนะนำ Blog ของ google ดีกว่า ซึ่งมีภาษาไทย ในการอธิบายเมนูต่างๆด้วย
และสามารถเลือกภาษาที่จะแสดงเมนูใน blog ได้ (กรณีทำโฆษณาภาษาอังกฤษ)
การสร้าง blog กับ blogger.com ชื่อที่ได้ จะได้เป็น ชื่อที่ตั้ง.blogspot.com
ถามว่า Blog สู้การทำเว็บ .com ได้มั้ย ลองเข้า google.co.th แล้วค้นคำว่า เที่ยวลาว ดูนะครับ
จะเห็นว่า blog สู้ .com ได้อย่างสบาย การที่เว็บจะอยู่อันดับต้น มันขึ้นกับเนื้อหาในเว็บครับ
@ …วิธีการสมัคร Blogger.com !!! @

เข้า http://www.blogger.com

ถ้าคุณเคยสมัครอะไรของ google ไว้แล้ว เช่น เคยสมัครเมล์ gmail ก็สามารถใช้ รหัส gmail login ในช่อง ลงชื่อเข้าใช้งานได้เลย
…หรือถ้าไม่เคยสมัครอะไร หรืออยากจะสมัครใหม่ ก็ คลิกคลิกที่ลูกศรสีส้ม สร้างบล็อคของคุณทันที

..ที่อยู่อีเมล ใส่เมล์ของเรานะครับ เมล์อะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น gmail ครับ ก็ประมาณว่า เมล์ที่เราใช้อยู่นั่นแหละครับ
..ใส่เมล์นั้นอีกครั้งครับ
..กำหนดรหัสผ่าน ตั้งขึ้นมาเลย ไม่ใช่รหัสเมล์นะครับ เป็นรหัสที่เราตั้งขึ้นเพื่อสมัคร blogger ครับ
..ชื่อที่แสดง ก็อย่างที่ในเว็บบอกครับ คือ คือนี่จะแสดงว่าเราเราโพสข้อความอะไรใน blog ของเรา หรือเขียนคอมเม้น แสดงความคิดเห็น blog ของคนอื่น
…รหัสยืนยัน ใส่รหัสสุ่มตามภาพที่ขึ้นมา
…ทำเครื่องหมายช่องสี่เหลี่ยม ยอมรับข้อตกลง …จากนั้นคลิก ดำเนินการต่อ

ตั้งชื่อเว็บบล็อกเลยครับ ชื่อจะปรากฏที่บนสุดของ blog เช่น ดังภาพ

ที่อยู่บล็อก ก็คือ ชื่อที่อยู่ url ของ blog นั่นเองครับ ตัวอย่างชื่อ blog

สำหรับการ ตรวจสอบความพร้อมคือ ตรวจสอบว่าชื่อที่ตั้งอยู่ ซ้ำหรือมีใครใช้อยู่หรือยัง
ถ้าขึ้น ที่อยู่บล็อกนี้สามารถใช้ได้ ก็สามารถใช้ชื่อนี้ได้ครับ

*** ทั้งชื่อเว็บบล็อก และที่อยู่ บล็อก สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในภายหลังครับ
และ 1 user ที่ใช้ login blogger สามารถ สร้าง blog ได้ 100 blog ครับ
ถ้าอยากสร้างอีก ก็สมัคร account blogger ใหม่ เพิ่มอีกครับ ***

ขั้นตอนต่อไปก็จะมีให้เลือกรูปแบบของ blog เลือกได้เลยครับ
ชอบแบบไหนก็เลือกไปก่อน สามารถ เปลี่ยนแปลงภายหลังได้

คลิก ดำเนินการต่อ …

หลังจากนั้น จะมาถึงขั้นตอน เริ่มต้นการเขียนบล็อก เพื่อนำเสนอสิ่งที่เราต้องการนำเสนอ

ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ blog ของ blogger ก่อนครับ
ก่อนเขียน blog เราต้องทำความเข้าใจและวางแผนก่อนครับ

.. blog เราสามารถ เขียนข้อความต่างๆ แทรกภาพ หรือนำเสนอต่างๆได้ …
การเขียน blog ที่ blogger
– ข้อความล่าสุด จะอยู่ที่หน้า blog
– ข้อความต่างๆที่เขียนไป จะเป็นหัวข้อ รวมอยู่ในคลังบทความของบล็อก ซึ่งคำว่า “คลังบทความของบล็อก” ตัวอย่าง blog เที่ยววังน้ำเขียว http://wang-namkeaw.blogspot.com ผมแก้คำว่า คลังบทความของบล็อก เป็น “รายละเอียด การท่องเที่ยว อ.วังน้ำเขียว” ซึ่งวิธีแก้เข้าที่หัวข้อ รูปแบบ…องค์ประกอบของหน้า

คลิกเข้าที่แก้ไข เพื่อเข้าไปแก้ไขคำว่า คลังบทความของบล็อก

สำหรับรูปแบบของ blog เที่ยววังน้ำเขียว ทำไมไม่มีใน แม่แบบ ของ blogger จะอธิบายอีกทีครับ …เกี่ยวกับคลังของบทความ เราควรวางแผนแล้วว่า บทความหรือข้อความต่างๆที่เราจะเขียน blog จะเรียงลงมา เมื่อมีผู้เข้าเยี่ยมชม blog ของเรา ผู้เยี่ยมก็จะเห็นหัวข้อเหล่านั้น และเลือกที่จะคลิกอ่านได้ เป็นผลดีในการนำเสนอ
– สำหรับบทความต่างๆ หรือข้อความต่างๆที่เราจะนำเสนอใน blog ข้อความล่าสุดจะอยู่หน้าแรกครับ หน้าแรกของ blog ควรจะเป็นเหมือนหน้ารับแขก ซึ่งออกแบบ เพื่อดึงดูดให้ผู้เข้าเยี่ยมชมได้สนใจ และอ่าน blog ..แล้วจะทำงัยล่ะ ? เมื่อข้อความต่างๆที่เรา เขียนไป เป็นหัวข้อต่างๆ ข้อความล่าสุดจะอยู่หน้าแรก ถ้าเราออกแบบ หน้าที่ดึงดูดความสนใจ ไว้เป็นหน้าแรกแล้ว ถ้าเรามีข้อความมาเขียน หรือ นำเสนออีก จะทำงัย ให้หน้าที่เราออกแบบไว้ อยู่หน้าแรก
…วิธีการง่ายๆก็คือ แต่ละบทความที่เราเขียนไป สามารถแก้ไขได้ เราเข้าไปแก้ไขบทความนั้น แก้ไขตรงวันที่ หรือจะแก้ไขเวลาด้วยก็ได้ ให้เป็นวันที่ล่าสุด เพื่อให้บทความนั้นยังอยู่หน้าแรกนั่นเอง …อยู่ล่างๆ นะครับ คลิกที่ตัวเลือกของบทความ แล้วจะมีให้แก้ไขได้

สำหรับ ป้ายกำกับสำหรับบทความนี้: …หมายถืง คีย์เวิร์ด สำคัญ หรือน่าสนใจ ในบทความหรือข้อความนั้นๆนะครับ เวลาโพสหรือเขียนข้อความไปแล้ว จะขึ้นเป็นข้อความ ป้ายกำกับ อยู่ล่างสุดของบทความ
..ทำความเข้าใจ การโพส หรือการเขียนข้อความ
…เผยแพร่บทความ คือเขียนข้อความเสร็จแล้ว ต้องการโพสใน blog แล้ว
…สำหรับ บันทึกทันที หมายถึง เราเขียนแล้ว แต่ยังไม่อยากนำเสนอลงใน blog เราอาจยังเขียนไม่เสร็จ เราใช้ปุ่มบึนทึกทันที บันทึกไว้ก่อน ยังไม่แสดงใน blog เพื่อไว้จะมาแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์อีกทีในภายหลังครับ
…กลับมาเรื่องป้ายกำกับ เราสามารถแทรกไว้ใน blog เป็นเมนูได้ เพื่อให้ผู้เยี่ยมชม ได้เลือกอ่านได้ ซึ่งใน blog เที่ยววังน้ำเขียว http://wang-namkeaw.blogspot.com ป้ายกำกับ รวมอยู่ด้านขวานะครับ ที่เป็นหัวข้อ “คีย์เวิร์ด เด่นๆ ในการเที่ยว วังน้ำเขียว” ซึ่งแต่ก่อน จะเป็นหัวข้อว่า “ป้ายกำกับ” ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนแปลงชื่อหัวข้อได้ครับ
…สำหรับการเพิ่ม ส่วนของป้ายกำกับ ทำได้โดย มาที่องค์ประกอบของหน้า

มาที่เพิ่ม Gadget ตรงไหนก็ได้ครับ ปกติจะอยู่ทางด้านซ้าย และล่างสุด

เลือก ป้ายกำกับ แล้วคลิกเครื่องหมาย บวก + เพื่อเลือกรูปแบบ ป้ายกำกับ เข้ามาใน blog
…จะมีป้ายกำกับขึ้นมา เพื่อให้คลิก บันทึก เป็นการแทรกโดยสมบูรณ์ …หรือจะแก้ไข คำว่า ป้ายกำกับ เลยก็ได้ หรือค่อยกลับมาแก้ไขภายหลังได้ครับ
เมื่อแทรกแล้ว ก็จะมีรูปแบบของป้ายกำกับเข้ามาใน blog

…สำหรับ หัวข้อส่วนต่างๆ สามารถเคลื่อนย้ายได้ เพื่อจัดรูปแบบต่างๆของ blog โดยเอาเม้าส์ คลิกค้าง แล้วลากไปตามส่วนต่างๆ ได้ตามต้องการ

…มาถึงที่ติดค้างไว้ คือรูปแบบของเว็บ เที่ยววังน้ำเขียว ทำไมไม่มีใน แม่แบบของ blogger
การใส่แม่แบบนอกเหนือจากแม่แบบที่มี ใน blogger ทำดังนี้
เข้าไปที่ http://btemplates.com/ จะมีรูปแบบต่างๆให้เลือก ดาวน์โหลด
ไฟล์ที่โหลดมา จะเป็นไฟล์ .zip ให้เรา แตกไฟล์ .zip ออกมา จะได้เป็นไฟล์ .xml
..เราจะเอาไฟล์ .xml เข้า blog ได้อย่างไร ?
,มาที่เมนู รูปแบบ หัวข้อ แก้ไข HTML จะมีให้ Browse เพื่อเลือกไฟล์ .xml ที่เรามีในเครื่อง (ที่เราไปโหลดมา)
แล้วคลิก อัปโหลด เพื่อ โหลดไฟล์ xml เข้าไปใน blog

จะมีบางรายการขึ้นมา ว่าส่วนไหนบ้างของแม่แบบเก่า จะหายไป ก็คลิกที่
ยืนยันและบันทึก เพื่อ เปลี่ยนแปลงให้ blog เรา เป็นแม่แบบใหม่ ที่ต้องการ
…สำหรับข้อความ บทความในการโพสต่างๆ ก็จะยังอยู่นะครับ จะไม่หายไปไหน เป็นการเปลี่ยนแม่แบบเฉยๆ
แต่ส่วนของการตกแต่ง หรือ Gadget ต่างๆที่เราเพิ่มเติมเสริมใน แม่แบบเก่า จะหายไป เราค่อยมาเลือก Gadget เพื่อตกแต่งใหม่ได้ครับ

…มาดูเมนูการตั้งค่า ซะหน่อย
บางคนสงสัยครับว่า blog ที่เขียน บทความต่างๆ ยาวลงมามาก ไม่รู้จะทำงัย มาที่ เมนูการตั้งค่า แล้วมาที่ การจัดรูปแบบ
สามารถเลือกได้ว่า จะแสดง หน้าละกี่บทความครับ
…ในเมนูนี้ ยังสามารถเปลี่ยน ภาษาได้ด้วย เป็นการเปลี่ยนภาษาของเมนูต่างๆ ใน blog ของเราครับ กรณี เราทำ blog ภาษาอังกฤษ แล้วอยากให้เมนูต่างๆเป็นภาษาอังกฤษ

…และอย่าลืม เข้ามาเปลี่ยน โซนเวลา ให้เป็น GMT +7 กรุงเทพด้วยนะครับ จะได้เช็คเวลาได้ กรณีมีใครมาเขียน แสดงความคิดเห็นใน blog เราครับ

ชื่อ blog สามารถ เปลี่ยนแปลงได้ด้วยนะครับ มาที่ เมนู การเผยแพร่ครับ …มีประโยชน์กรณีที่เรา เขียนและตกแต่ง blog เยอะแล้ว แต่ไม่พอใจชื่อ blog ที่ใช้อยู่ ครับ เราก็สามารถแก้ไขได้ครับ

… 1 user สามารถเขียน blog ได้ 100 blog …
เห็นหัวบนสุด ในระบบการเขียน blog มั้ยครับ คลิกที่แผงควบคุม จะมีรายการ blog ต่างๆที่เราทำไว้เรียงลงมาให้เห็น
..กรณีที่ยังไม่มี ก็จะมี blog ที่เราพึ่งทำนั่นแหละครับ 1 รายการ ถ้าเราจะทำ blog ใหม่เพิ่มอีก เรา ก็คลิกที่ สร้างบล็อกครับ ก็จะมีให้ตั้งชื่อ เพื่อสร้าง blog เพิ่มครับ ซึ่ง 1 user ของ blogger สามารถ สร้าง blog ได้ 100 blog ถ้าเราอยากสร้างมากกว่านั้น เราก็สมัคร blogger เพิ่มใหม่อีก User ครับ

… จบแล้วครับ ความรู้ในการเขียน blog และการวางแผนในการจัดรูปแบบ blog เพื่อความสวยงาม
…คัดลอกได้ครับ แต่ต้องอ้างอิงว่า เอาความรู้ มาจาก http://www.makemoney-school.com ด้วยครับ

มาดู เทคนิคการเขียน Blog ใน Blogger.com
เพื่อการใช้เป็นสื่อในการ โฆษณา 4 รูปแบบ
ตัวอย่าง
รูปแบบที่ 1 ทำเป็นเว็บหน้าเดียว (รูปแบบเก่า) คล้าย landing page หรือเว็บหน้าเดียว ที่ดูแล้วมีทุกอย่างในหน้าเดียว ตัวอย่าง ศาลาแก้วกู่ น้ำตกทีลอซู
รูปแบบที่ 2 ทำเป็นเว็บหน้าเดียว (รูปแบบใหม่) เน้นการแสดงภาพรวมในหน้าเดียว ตัวอย่าง เที่ยวลาว พระมหาธาตุแก่นนคร
รูปแบบที่ 3 การทำ blog โดยใช้รูปแบบที่ blogger มีให้เลือก ตัวอย่าง Stop Smoking Shot
รูปแบบที่ 4 การทำ blog โดยใช้รูปแบบใหม่ๆ มีให้เลือกมากมายหลายแบบ ตัวอย่าง วังน้ำเขียว กล้วยไม้ป่าช้างกระ เขาฉกรรจ์

การทำE-book

 

 

ที่มา:http://www.gotoknow.org/blog/students/335314

การสร้าง E- Book ด้วยโปกรม FlipAlbum 6.0 Pro.

สื่อนำเสนอในปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบใหม่ความโด่ดเด่น น่าสนใจด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia) การนำเสนอข้อความหรือเนิ้อหาปริมาณมากๆ ในลักษณะของสิ่งพิมพ์หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากสิ่งพิมพ์หรือหนังสือที่เป็นไฟล์เนื้อหาเพียงอย่างเดียว ต้องดูด้วยเทคนิคการเลื่อนจอภาพ ไปเป็นเทคนิคการนำเสนอที่มีลักษณะการเปิดหน้าหนังสอแบบเสมือน เนื้อหาที่นำเสนอเป็นได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว วิดีทัศน์ และเสียง อันเป็นการใช้ความสามารถของเทคโนโลยีมัลติมีเดียมาผสมผสานกบ e-Book ได้อย่างลงตัว เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูงอย่างมากในปัจจุบันภายใตชื่อเรียกว่า Multimedia e-Book

การพัฒนา Multimedia e-Book มีซอฟต์แวร์ช่วยหลายตัว โดยซอฟต์แวร์ที่โดดเด่นตัวหนึ่งคือ FlipAlbum ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนามาเป็น FlipAlbum 6.0 โดยความสามารถของโปรแกรมที่ทำให้การนำเสนอสื่อออกมาในรูปแบบ 3D Page-Flipping interface และมีชื่อเรียกเฉพาะว่า FlipBook ผลงานที่ได้นี้สามารถนำเสนอได้ทั้งแบบ Offline ด้วยความสามารถ AutoRun อัตโนมัติ และ Online ผ่านโปรแกรมแสดงผลเฉพาะ FlipViewer

คุณสมบัติขั้นต่ำของคอมพิวเตอร์
• ระบบปฏิบัติการ Windows® 98/2000/ME/XP
• คอมพิวเตอร์ IBM® PC compatible หนวยประมวลผล Pentium® II
300 MHz
– หน่วยความจำแรมอย่างต่ำ 128 MB
– พื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสก์อย่างต่ำ 100 MB
– การ์ดแสดงผล 16-bit
– จอภาพที่มีความละเอียดไม่น้อยกว่า 800 × 600 pixels

เตรียมความพร้อมก่อนสร้าง E-Book
ข้อมูลที่สามารถใส่ลงในโปรเเกรม Flip album ได้นั้นมีรูปเเบบที่หลากหลายทั้งข้อความ, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว, ไฟล์วิดิโอเเละไฟล์เสียง ดังนั้นควรจัดเตรียมข้อมูล ตกเเต่งรูปภาพเเละอื่นๆ ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเเละจัดเก็บรวมกันไว้ใน Folder ที่กำหนดขึ้นเช่น C:\my pic เป็นต้น ทั้งนี้ไฟล์ที่สามารถใช้ได้ ได้เเก่ (GIF, JPG, PNG, BMP, WMF, ICO, PCX, TIF, PCD, PSD); OEB Package Format (OPF); Sound Files (MID, WAV, MP3); Video Files (AVI, MPG)

การสร้างเอกสาร E – Book
เปิดโปรแกรม FlipAlbum จากเมนูคำสั่ง Start, Program, E-Book Systems, flipAlbum 6 Pro, FlipAlbum Pro จะปรากฏจอภาพทางาน โดยส่วนสำคัญของการสร้าง e-Book อย่างง่ายและเร็วนี้คือจอภาพ QuickStart
(ถ้าไม่ปรากฏให้เลือกคำสั่ง File, Start Wizard)

จากภาพดังกล่าวมี ขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอนดังนี้

1. คลิกรายการ Open Folder แล้วเลือกโฟลเดอรที่เตรียมภาพไว้ก่อนหน้านี้
(ตัวอย่างคือโฟลเดอร์ Graffiti)

2. จากนั้นคลิกรายการ Page Layout เพื่อเลือกรูปแบบของสื่อ ทั้งนี้รูปแบบ Single image per page เป็นลักษณะการนำเสนอภาพแยกเป็น 2 หน้ากระดาษ และรูปแบบ Centerfold page เป็นลักษณะการนำเสนอภาพบนกระดาษแผ่นใหญ่แผ่นเดียว ทั้งนี้เมื่อคลิกเลือกจะปรากฏ Effect สีขาวฟุ้งๆ รอบรูปแบบที่เลือก

3. <!–[endif]–>จากนั้นคลิกเลือก Themes เพื่อเลือกลักษณะปก และพื้นหนังสือ

4. เมื่อครบทั้ง 3 ขั้นตอนก็คลิกปุ่ม Finish โปรแกรมจะนำภาพทุกภาพในโฟลเดอร์ที่ระบุมาสร้างเป็น e-Book ให้อัตโนมัติ

การเลื่อนหน้ากระดาษ

คลิกบนหน้ากระดาษด้านขวา เพื่อดูหน้าถัดไป
คลิกบนหน้ากระดาษด้านซ้าย เพื่อย้อนกลับ
เลื่อนเมาส์ไปชี้ที่ขอบหนังสือด้านซ้ายหรือขวามือเพื่อเลือกหน้าที่จะเปิด
คลิกปุ่มขวาของเมาส์บนหน้ากระดาษ เเล้วคลิกคำสั่ง Flip To

o Front Cover คือปกหน้า
o Back Cover คือปกหลัง
o Overview คือหน้าสรุปรวมเนื้อหา
ซึ่งมีลักษณะเป็นภาพขนาดเล็ก (Thumbnails)

การทำงานของหน้านี้ แบ่งเป็น
>> การคลิกที่รูปภาพเล็ก เพื่อแสดงภาพแบบเต็มจอ
กดปุ่ม Esc เพื่อกลับสู่สภาวะปกติ
>> การคลิกที่ชื่อภาพ เพื่อเปิดไปยังหน้านั้นๆ
>> ใช้เทคนค Drag & Drop ชื่อไฟล์ภาพ
เพื่อสลับตำแหน่ง
>> คลิกปุ่มขวาของเมาส์ที่รูปเพื่อเปิดเมนูลัด
ในการทำงาน

o Contents คือหน้าสารบัญ โปรแกรมจะนำชื่อไฟล์ภาพหรือสื่อมาเป็นรายการสารบัญ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ตามต้องการ แต่ห้ามใช้สัญลักษณ์พิเศษใดๆ เช่น % ^ /

การปรับเปลี่ยนอัลบั้มอิสระ

FlipAlbum จะกำหนดลักษณะของหน้าปก, หน้าเอกสารด้วยภาพที่มีสีสันตาม Themes ที่เลือกเเต่ก็สามารถปรับเเต่งได้เอง โดย
1. เลือกหน้าเอกสารที่ต้องการปรับเเก้ไข
2. คลิกขวาพื้นที่หน้านั้น เเล้วเลือกคำสั่ง Page Properties
3. เลือกลักษณะของพื้นเอกสาร
• Default ตามค่าเริ่มต้นของระบบ

• Color ระบุสีเพื่อเเสดงผลเป็นสีของพื้นเอกสาร
• Texture ระบุไฟล์กราฟิกอื่นๆ ที่จะนำมาใช้เป็นพื้นเอกสาร

4. คลิกปุ่ม OK เพื่อยืนยันการปรับเเต่งหน้าเอกสาร

ตัวอย่างการปรับเปลี่ยนหน้าเอกสาร E-book : Graffiti

การเลือกสันปกเเบบต่างๆ
เป็นการเลือกรูปเเบบของสันปกอัลบั้มว่าจะใส่ห่วงสันปกหรือไม่ ซึ่งมีหลายเเบบให้เลือก ทำได้โดยคลิกที่คำสั่ง Options >> Book Binder เเละเลือกรูปเเบบที่ต้องการดังรูป

การปรับแต่ง / เพิ่มเติมข้อความ

การปรับแต่งแก้ไขข้อความใน e-Book ทำได้โดยการดับเบิ้ลคลืกที่ข้อความเดิม ซึ่งจะปรากฏเป็นกรอบข้อความ และแถบเครื่องมือการปรับแต่งข้อความ
การเพิ่มข้อความ
การเพิ่มข้อความ จะต้องตรวจสอบก่อนว่าข้อความนั้นจะเพิ่มในหน้าซ้าย หรือหน้าขวาได้หรือไม่ โดยสังเกตจากปุ่มเครื่องมือ Insert Annotation ซึ่งจะถูกแบ่งครึ่ง ครึ่งซ้ายคือการเพิ่มข้อความในกระดาษหน้าซ้าย และคึ่รงขวาคือการเพิ่มข้อความในกระดาษหน้าขวา หากปุ่มเครื่องมือ Insert Annotation ไม่สามารถคลิกได้ แสดงว่าหน้ากระดาษที่ปรากฏไม่สามารถป้อนข้อความได้ จะต้องเพิ่มหน้ากระดาษที่สามารถป้อนข้อความได้ด้วยคำสั่ง Edit, Insert Page, Left Page หรอ Right Page ก่อน

การปรับแต่งรูปภาพ

การย่อ/ขยายรูปภาพ สามารถทำได้หลากหลายวิธี ได้แก่

– การย่อ/ขยายด้วย Handle
– การย่อ/ขยายด้วยเมนูคำสั่งทีละภาพ
– การย่อ/ขยายแบบ Batch ซึ่งให้ผลพร้อมกันหลายๆ ภาพ

การหมุนภาพ
ภาพที่นำเข้ามาบางภาพอาจจะมีแนวการแสดงผลไม่เหมาะสม ซึ่ง
สามารถหมุนภาพให้เหมาะสมได้โดยคลิกขวาที่ภาพ แล้วเลือกคำสั่ง
Rotate จะปรากฏคำสั่งย่อย ดังนี้
– Left by 90 หมุนไปทางซ้าย 90 องศา
– Right by 90 หมุนไปทางขวา 90 องศา
– By 180 หมุน 180 องศา
– By Other Angles หมุนโดยกำหนดมุมอิสระ

การแสดงภาพด้วย Effect พิเศษ
ทำได้โดยการคลิกขวาที่ภาพ แล้วเลือกคำสั่ง Effects จะปรากฏ
คำสั่งย่อย ดังนี้
– Transparent ทำให้พื้นของภาพมีลักษณะโปร่งใส โดยโปรแกรมจะ
แสดงหลอดดูดสี (Eye Dropper) ให้คลิก ในตำแหน่งสีที่ต้องการทำให้
เป็นสีโปร่งใส
– 3D ทำให้ภาพมีลักษณะนูนแบบ 3 มิติ
– Shadow ทำให้ภาพมีเงา
– Select Crop Shape เลือกรุปทรงพิเศษ ซึ่งมีตัวเลือก ดังนี้

เมื่อคลิกรูปแบบที่ต้องการแล้วคลิก OK ภาพดังกล่าวจะแสดงผลด้วยรูปแบบที่เลือก เช่น

– Add/Edit Frame ใส่กรอบให้กับรูปภาพ โดยมีลักษณะ
กรอบภาพ ดังนี้

การเพิ่มรูปภาพ
การเพิ่มรูปภาพใน e-Book ทำได้โดยคลิกปุ่มเครื่องมือ Insert Multi-media Objects หรือ คลิกขวาที่หน้าเอกสารที่ต้องการเพิ่มรูปภาพเลือก Multi-media Objects

จากนั้นเลือกไดร์ฟ และโฟลเดอร์ที่ต้องการเลือกรูปภาพ กรณีที่ไม่ปรากฏภาพตัวอย่างให้คลิกที่ปุ่ม จากนั้นเลือกภาพที่ต้องการแล้วลากมาวางในหน้ากระดาษ

การใส่ไฟล์วิดีโอ และไฟล์เสียงลงในอัลบั้ม
นอกจากข้อความและภาพนิ่ง โปรแกรมยังสนับสนุนการนำเสนอสื่อมัลติมีเดียรูปแบบต่างๆ เช่น เสียง วีดิทัศน์ และภาพเคลื่อนไหว เช่น Gif Animation โดยใช้เทคนิคการนำเข้า เช่นเดียวกับรูปภาพ คือใช้ปุ่มเครื่องมือ Insert Multi-media Objects แล้วลากไฟล์สื่อที่ต้องการมาวางบนหน้ากระดาษ

การทำจุดเชื่อมโยง (Link)
การทำจุดเชื่อมหรือลิงก์ (Link) ด้วยข้อความหรือวัตถุต่างๆ ไปยังตำแหน่งต่างๆ หรือเรียกว่าเว็บไซต์ ก็เป็นฟังก์ชั่นหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของ e-Book ดังนั้น FlipAlbum จงเตรียมคำสั่งเพื่อให้สามารถทำงานได้สะดวก โดยเลือกกรอบข้อความ รูปภาพแล้วคลิกขวา จากนั้นเลือกคำสั่ง Set Link..

——————————————————————————–

อ้างอิงถึง : บุญเลิศ อรุณพิบูลย์. 5 กุมภาพันธ์ 2550.
Multimedia e-Book ด้วย Flip Album 6.0. เข้าถึงจาก :
http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_docman&task=doc_download&gid=64&Itemid=31

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.flipalbum.com
http://www.fliplibrary.com
http://www.flipcity.com
http://www.flipforum.com

การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

 ที่มา:http://www.buycdtoday.cz.cc/product_info.php/products_id/379?osCsid=6139c1aa0cc0feeb116948df73ff6145

1.แนวคิดการสอนเขียนโปรแกรม

หลายครั้งที่ผมต้องเริ่มสอนเขียนโปรแกรม ให้นักเรียนกลุ่มใหม่ และก็ต้องบอกเล่า ด้วยประโยคเดิมทุกครั้งว่า “การเขียนโปรแกรม ทุกภาษานั้นเหมือนกัน” สิ่งที่แตกต่างกัน ของแต่ละภาษาคือ syntax แต่สิ่งที่เหมือนกันของทุกภาษาคือ การใช้ประสบการณ์จากภาษาหนึ่ง ไปใช้ในอีกภาษาหนึ่งได้ ด้วยการซึมซับ เรื่องของ Structure Programming จนเข้าใจ เพื่อควบคุมในสิ่งที่คล้าย ๆ กันคือ input, process และ output ซึ่งหมายความว่า ถ้าท่านเขียนโปรแกรมอะไร ในภาษาหนึ่งได้แล้ว การเขียนโปรแกรมแบบนั้น ในภาษาอื่นย่อมไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพียงแต่ต้องศึกษาถึง syntax หรือ รูปแบบการเขียนของภาษาใหม่นั้นเพิ่มเติม แล้วนำประสบการณ์ที่เคยเขียน ไปสั่งให้ภาษาใหม่ทำงานตามต้องการ ผมจึงมักสนับสนุนให้นักเรียน ได้ศึกษาภาษาที่ไม่มีตัวช่วยมาก เพื่อให้เข้าใจในหลักการ และขั้นตอนการทำงาน อย่างละเอียดชัดเจน จากการทำงานของตัวแปรภาษาที่มีตัวช่วยน้อย ทำงานบน dos สามารถแปลเป็น exe และ นำไปใช้ได้โดยไม่ยุ่งยาก เช่น c, pascal, basic, fox… หรือ clipper เป็นต้น


2. ความหมายของ Structure Programmingการโปรแกรมแบบมีโครงสร้าง หรือ การโปรแกรมโครงสร้าง คือ การกำหนดขั้นตอนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานโดยมีโครงสร้างการควบคุมพื้นฐาน 3 หลักการ ได้แก่ การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) และ การทำซ้ำ(Loop)ตำราหลายเล่มจะขยายความออกไปว่า Decision แยกเป็น If และ Case ส่วน Loop แยกเป็น While และ Until ถ้าแยกให้ละเอียดก็อาจได้ถึง 5 หลักการ แต่ในที่นี้ขอนำเสนอไว้เพียง 3 หลักการ ดังนี้2.1 การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence)คือ การเขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์ จะเขียนเป็นผังงาน(Flowchart) ในแบบตามลำดับได้ตามภาพ2.2 การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision)คือ การเขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย เพื่อกระทำกระบวนการเพียงกระบวนการเดียว2.3 การทำซ้ำ(Repeation or Loop)คือ การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน(Flowchart) ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการ ถึงรูปแบบการทำงาน และใช้คำสั่งควบคุมด้วยตนเอง ตัวอย่างผังงานที่นำมาแสดงนี้เป็นการแสดงคำสั่งทำซ้ำ(do while) ซึ่งหมายถึงการทำซ้ำในขณะที่เป็นจริง และเลิกการทำซ้ำเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ

Sequence
Decision
Repeation

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.thaiall.com/flowchart


3. การเริ่มต้นเขียนโปรแกรมเริ่มต้นเขียนโปรแกรม เริ่มต้นตรงไหน : สำหรับผม เมื่อได้มาทำหน้าที่สอนหนังสือ โดยเฉพาะการเขียนโปรแกรมทุกภาษา ผมจะสอนให้นักศึกษาเขียนโปรแกรมควบคุมตัวเลข เช่นการพิมพ์ 1 ถึง 10 หรือ สูตรคูณ หรือปิรามิดของตัวเลข ที่ต้องฝึกใช้ Structure Programming ให้ชำนาญ และปัญหาก็เกิดขึ้นทุกครั้ง คือ “นักเรียนบ่นว่าไม่ชอบเขียน ไม่มีประโยชน์” หรือ “เขียนไม่ได้ ถึงเขียนได้ ก็ไม่รู้จะเขียนไปทำไม” แล้วผมก็ต้องกลับไปอธิบายอีกครั้งว่า การเริ่มต้นแบบนี้ “จะทำให้รู้จักควบคุมโปรแกรม ตามหลักการของโปรแกรมแบบมีโครงสร้างได้ชำนาญขึ้น รู้จักเรียนรู้ และแก้ปัญหาด้วยตนเอง รวมทั้งรู้จักแก้ไข Syntax พื้นฐานไม่ให้ผิดพลาด เมื่อสามารถเขียนโปรแกรมในระดับต่อ ๆ ไปได้”เริ่มต้นเขียนโปรแกรมทำอย่างไร

    (จากหนังสือ พื้นฐานเว็บมาสเตอร์บทที่ 17)

  1. เลือกภาษา สำหรับนักเรียน นักศึกษานั้นง่ายที่จะเลือก เพราะอาจารย์คอยชี้แนะ
  2. หาแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากห้องสมุด ถ้าท่านไม่มีอะไรอยู่ในมือเลย คงนึกโครงสร้างภาษาไม่ออกเป็นแน่
  3. หาตัวแปลภาษา ทุกภาษาต้องมีตัวแปลภาษา มีหลายภาษาที่ถูกสร้างเป็น Free compiler ต้องหาดู
  4. เขียนโปรแกรมตัวแรกที่ง่าย เช่น พิมพ์เลข 5 เป็นต้น
  5. ศึกษาการทำซ้ำ และการเลือกตามเงื่อนไข เช่นพิมพ์สูตรคูณ หรือพิมพ์ 1 ถึง 10 เป็นต้น
  6. ติดต่อแฟ้มข้อมูล เพื่ออ่านมาแสดงผล หรือปรับปรุงข้อมูลได้
  7. เขียนเมนู เพื่อเลือกกระทำโปรแกรมตามตัวเลือก
  8. ทำรายงานจากการเชื่อมแฟ้มหลายแฟ้ม โดยกำหนดได้หลายตัวเลือก
  9. เขียนโปรแกรมเพิ่มข้อมูล เช่น ซื้อ ขาย ยืม คืน หรือโปรแกรมลงทะเบียนนักศึกษาแต่ละภาคเรียนเป็นต้น
  10. สร้างโปรแกรมขึ้นมาระบบหนึ่งให้สมบูรณ์ (ความสมบูรณ์ก็คือการสนองทุกความต้องการของผู้ใช้)

4. การบ้านคือ บันไดสู่ประสบการณ์การบ้าน (Project): การสั่งงานให้นักเรียนได้ทำ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผมได้เรียนแบบอาจารย์ที่เคยสอนผมเสมอ คือ สั่งงานเกือบทุกชั่วโมงเรียน ยกเว้นเทศกาล หรือวันหยุดราชการ ที่เว้นให้นักเรียนได้พักบ้าง สำหรับ project จะต้องใช้หลักการที่สำคัญทั้งหมดที่ได้เรียนมา หรือที่ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ด้วยตนเอง และต้องใหญ่พอที่จะใช้เวลาทำทั้งสัปดาห์ไม่เสร็จ แต่จะต้องใช้เวลาทำอย่างต่อเนื่อง ตลอดทั้งภาคเรียน การยอมรับคำวิงวอนให้ลดงานของนักเรียนนั้น อาจทำได้ตามความเหมาะสม กับบทเรียนที่ได้สอนไป แต่ขนาดงานก็ไม่ควรน้อยกว่า การทำให้นักศึกษา ได้ฝึกฝน และใช้เวลาศึกษาด้วยตนเอง (Self learning) อย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อทำให้โครงงานสำเร็จลุล่วง และในบางวิชาของการเขียนโปรแกรม ควรมีโครงงานทั้งก่อนสอบกลางภาค และปลายภาค คือมี Project 2 ชิ้น ในวิชานั้น และที่สำคัญที่สำคัญที่สุดสำหรับหลักการสั่งงานของผมคือ งานชิ้นใหญ่จะต้องเป็นงานเดี่ยว เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสทำด้วยตนเอง มีความภูมิใจในความสำเร็จ และเป็นผู้รับผิดชอบขั้นตอนทั้งหมดด้วยตนเอง ผมจะไม่มอบ project ชิ้นใหญ่เป็นงานกลุ่ม เพราะไม่ต้องการให้นักเรียนคนใดเลย พลาดขบวนการเรียนรู้ แม้แต่ขั้นตอนเดียว และอาจารย์จะต้องมีเวลาที่จะตอบข้อซักถามเสมอ เพราะบ่อยครั้งที่อาจจะสอนผิด สั่งงานผิด นักเรียนนั่งหลับ นักเรียนจดผิด หนังสืออ้างอิงเขียนผิด หรือแม้แต่การตรวจงานผิดของอาจารย์ ก็เป็นได้กรกฎาคม 2545 หลังจากผมสอนมาสิบปี พบว่าการมอบหมายงานให้นักศึกษาไปทำงานในคอมพิวเตอร์ที่บ้าน โดยให้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง ประสบความล้มเหลวมาโดยตลอด เพราะมีนักศึกษาส่วนหนึ่ง ไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่สนใจที่จะเขียนโปรแกรม ไม่ต้องการที่จะคิด และยอมแพ้ ทุกครั้งที่ให้เขียนโปรแกรมง่าย ๆ ทั้ง ๆ ที่มีโปรแกรมยาก ๆ รออยู่อีกมากมาย แต่นักศึกษาทำไม่ได้ จึงนึกการให้งานแบบล่าสุดออกคือ การให้ลอกโปรแกรมด้วยมือ เช่น มีโปรแกรมง่าย ๆ หรือควรรู้อยู่ 15 โปรแกรม จึงมอบหมายให้ลอกลงกระดาษ 4 รอบ และให้เสร็จใน 1 สัปดาห์ ผลที่ได้คือนักศึกษาได้อ่านหนังสือ จดจำรูปแบบภาษาได้มากขึ้น งานที่ให้ลอกไม่ได้หยุดที่ 60 โปรแกรม แต่มากขึ้น หรือน้อยลงขึ้นกับความเข้าใจ และเนื้อหาที่สอน การทำให้นักศึกษา คิดเป็น และแก้ปัญหาโจทย์ได้ เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ต้องสอนในห้องปฏิบัติการ ส่วนการจำรูปแบบคำสั่งไม่ได้ แก้ไขได้ด้วยการสั่งให้ลอกโปรแกรมเท่านั้น ความคาดหวังของผู้สอนว่านักศึกษาจะตั้งใจเรียน แล้วกลับไปทำคอมพิวเตอร์ที่บ้าน โดยไม่ลอกเพื่อนเพียงอย่างเดียว ผมทำมา 10 ปี แต่ไม่ได้ผลเลย

5. ตัวอย่างโจทย์ปิรามิด คือแบบฝึกหัดที่ยาก

ตัวอย่างปิรามิดที่มอบหมายให้นักศึกษาไปเขียน (ผมใช้สอนในทุกภาษาที่ผมสอนทีเดียว)
1.
11******11
 22****22
  33**33
   4444
Source Code .java

2.
123***
234****
345*****
456******
Source Code .java

3.
15*****
26******
37*******
48********
Source Code .java

4.
*1
**212
***32123
****4321234
Source Code .java

5.
   11
  2**2
 3****3
4******4
 3****3
  2**2
   11

6. (java % and /)
1010101010101
 10101010101
  101010101
   1010101
    10101
     101
      1

7.
      111
     12221
    1233321
   123444321
  12345554321
 1234566654321
123456777654321

8.
123**
 234***
  345****
   456*****
    567******
     678*******
      789********

9.
111111111
 2222222
  33333
   444
    5

10.
    151
   12421
  1233321
 123424321
12345154321

11.
    11
   2 2
  3  3
 4   4
5    5

12.
123456789
 2345678
  34567
   456
    5

13.
987654321
  7654321
    54321
      321
        1

14.
12        21
 23      32
  34    43
   45  54
    5665

15. (2 * i - 1)
11111 11111
2222   2222
333     333
44       44
5         5

16.
1        *
21      **
321    ***
4321  ****
54321*****

17.
19191919
28282828
37373737
46464646
55555555

18.
1*1*****9
1**2****8
3***3***7
4****4**6
5*****5*5

19.
1*********5
2******** 4
3*******  3
4******   2
5*****    1

20.
1*1
22**22
333***333
4444****4444
55555*****55555

21.
*******1*7
******2**6
*****3***5
****4****4
***5*****3

22.
*111111111*
* 2222222 *
*  33333  *
*   444   *
*    5    *

23.
1******1
2***** 2
3****  3
4***   4
5**    5

24.
1*1111111111
2***22222222
3*****333333
4*******4444
5*********55

25.
****5*****
***444****
**33333***
*2222222**
111111111*

26.
11111*
2222**
333***
44****
5*****

27.
1 *
2  **
3   ***
4    ****
5     *****

28.
54321*12345
5432***2345
543*****345
54*******45
5*********5

29.
1*3***
2*4****
3*5*****
4*6******
5*7*******

30.
*********1
 *******21
  *****321
   ***4321
    *54321

31.
11111*****
2222  ****
333    ***
44      **
5        *

32.
1234567***3
123456****4
12345*****5
1234******6
123*******7

33.
    *
   ***
  *****
   ***
    *

34.
    *
   *2*
  *232*
   *2*
    *

35.
   1*1*2
   2*3*4
   3*5*6
   4*7*8
   5*9*10

36.
123*321
23***32
3*****3
23***32
123*321

6. ตัวอย่างโปรแกรมภาษา Pascalด้รับ mail จากคุณ ditthapong itthiwatthawong <ryojung@samart.co.th>ว่าเขียน ปิรามิดด้วย pascal แบบเลือกตัวอักษรได้ เขียนอย่างไร ผมจึงเขียนไว้ให้ดูเป็นตัวอย่างดังข้างล่างนี้โปรแกรมนี้รอรับตัวอักษรจากแป้นพิมพ์ แล้วนำไปใช้กำหนดเงื่อนไขในการพิมพ์

เช่น ส่งอักษร D ก็จะพิมพ์บรรทัด A ถึง บรรทัด D และถ้าส่งอักษร E ก็จะพิมพ์บรรทัด A ถึง บรรทัด E เป็นต้น

รหัสต้นฉบับ (Source Code) ผลลัพธ์ (Output)
var
   i,j : integer;
   c : char;
begin
   writeln ('What is your english character?');
   readln (c);
   c := upcase(c);
   writeln ('======');
   for i := 65 to ord(c) do
   begin
      for j := 65 to i do  write(chr(j));
      writeln;
   end;
   readln;
end.
What is your english character?
F
======
A
AB
ABC
ABCD
ABCDE
ABCDEF
      เมื่อเช้านี้น้องเค้า mail ถึงผมอีกว่า ใช้ function ที่ครูยังไม่สอน
    ผมจึงเขียนใหม่แบบที่ไม่ต้องใช้ function รู้สึกง่ายกว่าเดิมอีกครับ
รหัสต้นฉบับ (Source Code) ผลลัพธ์ (Output)
var c,d,g : char;
begin
   writeln ('What is your english character?');
   readln (g);
   for c := 'A' to g do
   begin
     for d:= 'A' to c do write(d);
     writeln;
   end;
   readln;
end.
What is your english character?
D
A
AB
ABC
ABCD

7. ตัวอย่างโปรแกรมภาษา Java Scriptได้รับ mail จากคุณ surasak boonarch <putter_@yahoo.com>ว่าเขียน ปิรามิดด้วย java ได้ไหม อย่างไร ผมจึงเขียนไว้ให้ดูเป็นตัวอย่างดังข้างล่างนี้

รหัสต้นฉบับ (Source Code) ผลลัพธ์ (Output)
<body><font face="fixedsys" size=0>
<script language="JavaScript" type="text/javascript">
<!--
var k = 5;
for(i=1;i<=k;i++) {
  document.write( i + "<br>")
}
// -->
</script>
</body>
1
2
3
4
5
รหัสต้นฉบับ (Source Code) ผลลัพธ์ (Output)
<html><title>teachp02.htm</title>
<body><font face="fixedsys" size=0>
<script language="JavaScript" type="text/javascript">
<!--
var k = 5;
for(i=1;i<=k;i++) {
  document.write( i + " - ")
  for(j=1;j<=i;j++) {
    document.write( 11 - j - i )
  }
  document.write("<br>")
}
// -->
</script>
</body></html>
1 - 9
2 - 87
3 - 765
4 - 6543
5 - 54321
รหัสต้นฉบับ (Source Code) ผลลัพธ์ (Output)
<html><title>teachp01.htm</title>
<body><font face="fixedsys" size=0><pre>
<script language="JavaScript" type="text/javascript">
<!--
var k = 9;
for(i=1;i<=k;i++) {
  for(j=1;j<=k-i+1;j++) { document.write( " " ) }
  for(j=1;j<=i;j++) { document.write( j ) }
  document.write( i )
  for(j=i;j>=1;j--) { document.write( j ) }
  document.write("<br>")
}
// -->
</script>
</body></html>
        111
       12221
      1233321
     123444321
    12345554321
   1234566654321
  123456777654321
 12345678887654321
1234567899987654321

8. แบ่งระดับการเขียนโปรแกรม 4 ระดับระดับในการเขียนโปรแกรมมีหลายระดับ

  1. เขียนตามที่ครูสอน ( ระดับต้น)
  2. เขียนโครงงานส่งครู ( ระดับกลาง)
  3. เขียนโปรแกรมประยุกต์ไว้ใช้งาน ( ระดับสูง)
  4. เขียนโปรแกรมเชิงวัตถุให้ถูกเรียกใช้ภายหลัง ( ระดับมืออาชีพ

สื่อมัลติมิเดียเพื่อการเรียนการสอน

สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
ที่มา: http://nipatip-n.blogspot.com/2008/11/blog-post.html
          สื่อการสอนไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใด รูปแบบใดก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และทักษะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร การใช้สื่อการสอนในรูปแบบที่เหมาะสมจึงมีความจำเป็นมากขึ้น เพราะสื่อจะช่วยให้การรับรู้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสื่อและวิธีการเสนอสื่อนั้นๆ ด้วย สื่อธรรมดาที่สุด เช่น ชอล์กและกระดานดำหรือไวท์บอร์ด หากมีการออกแบบการใช้ที่ดีก็อาจมีประสิทธิภาพในการสื่อความหมายมากกว่าการใช้สื่อที่ซับซ้อน และมีราคาแพงกว่าก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม สื่อแต่ละประเภทย่อมมีข้อดีและข้อจำกัดในตัวเอง
          สื่อมัลติมีเดียก็เช่นเดียวกับสื่ออื่น คือ มีทั้งข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ข้อได้เปรียบที่เห็นชัดเจนคือ ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลข้อมูล นำเสนอข้อมูล ภาพ เสียง และข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพดังกล่าวนี้เมื่อผนวกเข้ากับการออกแบบโปรแกรมที่ดี ย่อมส่งผลดีต่อการเรียนการสอน ข้อเสียเปรียบของสื่อมัลติมีเดียก็มีอยู่ไม่น้อย ประการสำคัญคงเป็นราคาของคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นก็เป็นความซับซ้อนของระบบการทำงานซึ่งเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ นับว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความยุ่งยากในการใช้งาน อย่างไรก็ตาม ความยุ่งยากของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ลดลงตามลำดับ บริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้การใช้คอมพิวเตอร์มีความง่ายสำหรับคนทุกคนทุกอาชีพ
           การติดต่อกับผู้ใช้ด้วยกราฟิก (Graphical User Interface หรือ GUI) ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ง่ายและเป็นกันเองมากขึ้น ความง่ายต่อการใช้และประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์นี้เอง ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเริ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน เริ่มจากโรงเรียนที่มีความพร้อม แล้วขยายวงออกไป จนปัจจุบันกลายเป็นสิ่งที่โรงเรียนทุกแห่งควรจะต้องมี คำถามที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มค่าของการลงทุนยังคงมีอยู่ตลอดเวลา คำตอบที่ชัดเจนคงมีเพียงคำตอบเดียวคือ หากเราใช้เทคโนโลยีอย่างนี้อย่างคุ้มค่าก็เป็นสิ่งที่น่าลงทุน
          เมื่อกล่าวถึงความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์ คนส่วนใหญ่จะคิดว่า ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่นั้นจะนำมาใช้งานอะไรได้บ้าง ตรงกับความต้องการหรือไม่ เพียงพอหรือไม่ ความคุ้มค่าอยู่ที่เราได้อะไรจากการใช้คอมพิวเตอร์ ในโรงเรียนนอกจากงานด้านบริหารจัดการแล้ว ความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ที่คุณภาพและปริมาณของสื่อมัลติมีเดีย และแผนการใช้เพื่อการเรียนการสอนอีกด้วย
          สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้น คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และข้อความ เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานี้ มีข้อแตกต่างจากสื่อมัลติมีเดียที่ใช้เพื่อการนำเสนอข้อมูลหรือการประชาสัมพันธ์อยู่หลายด้าน บทบาทของสื่อมัลติมีเดียทั้ง 2 ลักษณะจึงมีดังนี้สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
          – เป้าหมายคือ การสอน อาจใช้ช่วยในการสอนหรือสอนเสริมก็ได้
          – ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน
          – มีวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุเฉพาะ โดยครอบคลุมทักษะความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และโครงสร้างของเนื้อหา
          – เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง
          – ใช้เพื่อการเรียนการสอน แต่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น
          – ระบบคอมพิวเตอร์สื่อมัลติมีเดียเป็นชุดของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการส่งและรับข้อมูล
          – รูปแบบการสอนจะเน้นการออกแบบการสอน การมีปฏิสัมพันธ์ การตรวจสอบความรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
          – โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด
          – การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำสื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
          – เป้าหมายคือ การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ
          – ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่
          – มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ
          – เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
          – ใช้มากในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ
          – อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือเพื่อต้องการให้ผู้ชมได้ชื่นชม และคล้อยตาม
          – เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นต้น ไม่ตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูล
          – โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ
          สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่นักการศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง พัฒนาการของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนในประเทศตะวันตก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา มีความรุดหน้าอย่างเด่นชัด ยิ่งเมื่อมองภาพการใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายด้วยแล้ว บทบาทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนจะยิ่งโดดเด่นไปอีกนานอย่างไร้ขอบเขต รูปแบบต่างๆ ของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนได้รับการพัฒนาขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จนกระทั่งเมื่อกล่าวถึงสื่อมัลติมีเดีย ทุกคนจะมองภาพตรงกัน คือ การผสมผสานสื่อหลากหลายรูปแบบเพื่อนำเสนอผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนได้รับการบันทึกไว้บนแผ่นซีดีรอมและเรียกบทเรียนลักษณะนี้ว่า CAI เมื่อกล่าวถึง CAI จึงหมายถึงสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอบทเรียนโดยมีภาพ และเสียงเป็นองค์ประกอบหลัก โดยภาพและเสียงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบของข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือวีดิทัศน์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบบทเรียน ส่วนเสียงนั้นจะมีทั้งเสียงจริง เสียงบรรยาย และอื่นๆ ที่เหมาะสม โดยทั้งหมดนี้จะถ่ายทอดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งต่อเป็นระบบเครือข่ายหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
          เมื่อเทคโนโลยีเครือข่ายมีความก้าวหน้ามากขึ้น การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายก็ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นตามลำดับเช่นกัน เครือข่ายใยแมงมุมโลกหรือที่เรียกทั่วไปว่า เว็บ (Web) ได้รับการพัฒนาและการตอบสนองจากผู้ใช้อย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เว็บกลายเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ธุรกิจทั่วโลกให้ความสนใจ ซึ่งรวมทั้งธุรกิจด้านการศึกษาด้วย โดยเฉพาะด้านการศึกษานั้น เว็บได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกหนทุกแห่งในโลกมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในเว็บได้ใกล้เคียงกัน
          การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) ได้รับความสนใจจากนักการศึกษาเป็นอย่างมาก ในช่วง ค.ศ. 1995 ถึงปัจจุบัน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอนทั้งระบบการสอน และการออกแบบบทเรียนได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการพัฒนาโปรแกรมสร้างบทเรียนหรืองานด้านมัลติมีเดียเพื่อสนับสนุนการสร้างบทเรียนบนเว็บมีความก้าวหน้ามากขึ้น โปรแกรมสนับสนุนการสร้างงานเหล่านี้ล้วนมีคุณภาพสูง ใช้งานง่าย เช่น โปรแกรม Microsoft FrontPage โปรแกรม Dream Weaver โปรแกรม Macromedia Director โปรแกรม Macromedia Flash และโปรแกรม Firework นอกจากโปรแกรมดังกล่าวแล้ว โปรแกรมช่วยสร้างสื่อมัลติมีเดียอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมในการนำมาสร้างบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน เช่น Macromedia Authorware และ ToolBook ก็ได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้งานบนเว็บได้ การเปลี่ยนแปลงรวมทั้งบทบาทของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลต่อการจัดรูปแบบการเรียนการสอนนี้เอง ที่ทำให้การเรียนการสอนทางไกลการฝึกอบรมทางไกล รวมทั้งการเรียนการสอนในลักษณะของการอภิปรายโต้ตอบทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย ซึ่งทำได้ยากและต้องเสียค่าใช้จ่ายมากจะเป็นเรื่องที่ไม่แปลกใหม่ในอนาคต

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

 ที่มา:http://information-tachnology-u1.blogspot.com/2011/01/9.html

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ความหมาย

     เทคโนโลยีมีความหมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่องานปฏิบัติทั้งหลาย เพื่อให้งานนั้นมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
สารสนเทศ อ่านว่า สาระ-สน-เทศสาร หรือ สาระ เป็นคำประกอบหน้าคำ แปลว่า สำคัญ สนเทศ หมายถึง คำสั่ง ข่าวสาร ใบบอก
สารสนเทศ จึงหมายถึงข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ
สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information
สำหรับคำว่า Information นั้น พจนานุกรมเวบสเตอร์ ให้ความหมายไว้ว่า ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศ เป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ จึงได้มีการประมวลความหมายของสารสนเทศไว้ใกล้เคียงกัน ดังนี้

สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ และวิเคราะห์แล้วสามารถนำมาใช้ได้ หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า

สารสนเทศ คือข้อมูลที่ได้รับการประมวลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายต่อผู้รับ และมีทั้งคุณค่าอันแท้จริง หรือที่คาดการณ์ว่าจะมีสำหรับการดำเนินงานหรือการตัดสินใจในปัจจุบันและอนาคต

สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบมาคำนวณทางสถิติ หรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำมาใช้งานได้ทันที

หากพิจารณาจากความหมายของสารสนเทศที่กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นว่าสารสนเทศมีคุณลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
2. เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ นำไปใช้งานได้
3. มีคุณค่าสำหรับใช้ในการดำเนินงานและการตัดสินใจ

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม

เทคโนโลยีสารสนเทศ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology หรือ IT

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร

เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ

1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร

ความสำคัญ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง

รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ” ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่

ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป)

การดำเนินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษานั้น ดำเนินการมาก่อนหน้านี้อีก คือเริ่มดันในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งได้เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในด้านการเรียนการสอนโดยมีหลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิชาการที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการบริหารงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการลงทะเบียนนักศึกษา สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ได้จัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้นในปี พ.ศ. 2522 ในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ทางด้านทบวงมหาวิทยาลัย ได้จัดประชุมระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่องการศึกษาและระบบสารสนเทศภายใต้โครงการพัฒนาการศึกษาอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน 2523 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการพัฒนาการสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
พ.ศ. 2526 ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ศ.ส.ษ.) ขึ้น โดยความเห็นชอบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการ และเพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสารสนเทศทางการศึกษาที่จำเป็นต่อการกำหนดนโยบายการวางแผนการศึกษาและการพัฒนาการศึกษาของประเทศ นอกจากนั้นยังมีหน้าที่กำหนดนิยามที่จำเป็นต้องใช้ในระบบสารสนเทศทางการศึกษา กำหนดมาตรฐานในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำแนกข้อมูลและจัดกระทำข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ รวมทั้งการกำหนดขอบข่ายการประสานงานของระบบสารสนเทศทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการ และการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาของประเทศ
ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติ ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีแผนงานหลักเพื่อพัฒนาการศึกษาอยู่ 9 แผนงานหลัก แผนงานหลักที่ 9 เป็นแผนเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา ในแผนงานหลักที่ 9 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษานั้นได้มีแนวคิดว่า สำหรับระบบการศึกษาก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลและสารสนเทศเช่นเดียวกันโดยหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจัดเก็บ การให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย การวางแผนพัฒนาการศึกษา การบริหารการศึกษา และการจัดการศึกษาให้เป็นระบบ ที่มีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอนทุกระดับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะเป็นไปอย่างอิสระทำให้ขาดความเป็นเอกภาพ ประกอบกับขาดความพร้อมทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อเชื่อมระบบซอฟแวร์ เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อันได้แก่ ปัญหาการผลิตข้อมูลปฐมภูมิที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วนตามที่ผู้ต้องการใช้ ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ปัญหาการประสานงานเครือข่าย รวมทั้งปัญหาการดำเนินงานสารสนเทศ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ส่งผลไปถึงการจัดการศึกษาที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงาน
จากปัญหาข้างต้น จึงจำเป็นจะต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา โดยมีพื้นฐานอยู่บนหลักการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานทางการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถประสานการดำเนินงาน และการนำทรัพยากรมาใช้ในการบริหารการวางแผนการจัดการศึกษา และการฝึกอบรมร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงานกลาง ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ความเป็นมา

ประเทศไทยได้เริ่มใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นเวลานานกว่า 30 ปีแล้ว เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2506 เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกเป็นเครื่อง IBM 1401 ติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อจัดทำสถิติและสัมมโนประชากร ต่อมา พ.ศ. 2527 รัฐบาลได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ” ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติการจัดหาคอมพิวเตอร์ของส่วนราชการ พ.ศ. 2534 รัฐบาลได้ยุบคณะกรรมการคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เพื่อให้หน่วยราชการต่างๆ มีความคล่องตัวในการจัดหาคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลง และนิยมใช้แพร่หลายขึ้น
พ.ศ. 2535 มีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ จากนั้นคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติได้แต่งตั้งอนุกรรมการด้านต่างๆ 7 ด้านได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การค้าระหว่างประเทศ การวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีสาร-สนเทศ การวางแผนพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ การพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม เข้ามาใช้ในการจัด การพัฒนา และเผยแพร่สารสนเทศให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา ภายใต้การประสานงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ การดำเนินการด้านนี้กล่าวโดยสรุปได้ ดังนี้
1. พ.ศ. 2522 กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศขึ้น ได้นำระบบ Mainframe มาใช้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 และขยายเครือข่าย On-line ไปยังกรมต่างๆ ในสังกัด 14 กรม รวมทั้งการเชื่อมโยงกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ นอกจากนี้ยังได้จัดหาอุปกรณ์ไมโครคอมพิวเตอร์ให้หน่วยงานศึกษาธิการในระดับเขตการศึกษา ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ สำหรับการพัฒนาระบบสารสนเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
2. ศูนย์สารสนเทศทบวงมหาวิทยาลัย มีระบบคอมพิวเตอร์ทั้งระดับ Mainframe และ Mini Computer และไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ สำหรับการวางแผนและการบริหารกิจกรรมในทบวงมหาวิทยาลัย
3. สถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ มีความก้าวหน้าในการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารการเรียนการสอน การทะเบียน การวิจัย และประเมินผล รวมทั้งการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสถาบันต่างๆ เช่น เครือข่าย Internet ไทยสาร CUNET และ PULINET
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ มีศูนย์สารสนเทศทางการศึกษา รับผิดชอบในการวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ
ในขณะนี้ได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาแล้วได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการ เครือข่ายสารสนเทศทบวงมหาวิทยาลัย เครือข่ายสารสนเทศสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เครือข่ายสารสนเทศสาธารณะ อันได้แก่ เครือข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งหลาย และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามีกว้างขวางขึ้น
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ได้ทดลองดำเนินการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศโรงเรียนเมื่อ พ.ศ. 2538 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้โรงเรียนทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดได้มีและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ยกระดับการศึกษาของเยาวชนไทย และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ที่มีอยู่ทั่วโลก โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ การดำเนินงานมีโครงการย่อย 3 โครงการ
1. โครงการอินเตอร์เน็ตมัธยม โดยเน้นการติดตั้งระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้โรงเรียนสามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
2. โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในชนบท เน้นการจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้นให้แก่โรงเรียน เพื่อใช้ในการพิมพ์และคำนวณอย่างง่าย ผู้รับผิดชอบโครงการได้แก่ คณะกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับกรมสามัญศึกษาและบริษัทที่สนับสนุนโครงการ
3. โครงการจัดตั้งตู้หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการจัดสร้างตู้หนังสือที่รวบรวมหนังสือเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่อ่านได้ทั่วไปเพื่อให้ครูและนักเรียนได้ใช้ศึกษาค้นคว้า
นอกจากนี้แล้วยังสามารถทำเพื่อการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรโดยการประชาสัมพันธ์นั้นถือเป็นหน้าตาขององค์กรที่จะสร้างความประทับใจแรกพบของกลุ่มประชาชนเป้าหมาย ในปัจจุบันทุกหน่วยงานล้วนแล้วแต่ให้ความสำคัญกับงานประชาสัมพันธ์ ได้พยายามหาเทคนิควิธีต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์งานประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพ สื่อประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ตจึงเป็นสื่อสำคัญที่นำมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ทางการศึกษา
การสร้างงานประชาสัมพันธ์นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือสถาบันผู้ที่ทำหน้าที่ในการนำงานประชาสัมพันธ์สื่อสายตาประชาชน ข่าวสารในการประชาสัมพันธ์ได้แก่เนื้อหาสาระที่จะส่งไปยังกลุ่มเป้าหมาย สื่อในการประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่นำข่าวสารผ่านสื่อหรือช่องทางไปยังกลุ่มเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์นั้นๆ เพื่อให้ได้รับเนื้อหาสาระจากสื่อในการประชาสัมพันธ์ สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญคือการเลือกสื่อในการประชาสัมพันธ์ สื่อในการประชาสัมพันธ์นั้นจะต้องมีความเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้กว้างไกล มีความน่าสนใจในตัวของสื่อเอง โดยสื่อที่จำกล่าวถึงนี้คือ การนำสื่ออินเตอร์เน็ตมาใช้ในประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ทางการศึกษา